21 มกราคม 2554

การเลี้ยงกบ


เนื่องจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่มีอัตราประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นๆ และ
ปริมาณความต้องการในการบริโภคเพิ่มขึ้นติดตามมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันที่
ทรัพยากรธรรมชาติหรือแม้แต่ผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลงเป็นไปในลักษณะผกผัน โดย
เฉพาะอาชีพเกษตรกรรมของพี่น้องเกษตรกรที่ต้องอาศัยความชุ่มชื้นจากธรรมชาติถึง
75%
นอกจากนั้นแล้วยังต้องพบกับความผิดหวังเมื่อจำ หน่ายผลผลิตไม่ได้ราคา หรือถูกพ่อค้า
คนกลางกดราคารับซื้อ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุที่ทำ ให้เกษตรกรต้องขวนขวาย
หาแนวทางในการประกอบอาชีพใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การขุดบ่อเลี้ยงปลา การเลี้ยงกบ
ฯลฯ แต่สำ หรับการเลี้ยงกบนั้น ปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจแก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะ
กบเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลาน้อย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย และจำ หน่ายได้ราคาคุ้ม
กับการลงทุน โดยเฉพาะในปัจจุบันมีตลาดต่างประเทศที่ต้องการสินค้ากบเปิดกว้างมากขึ้น
กบนาที่เป็นผลผลิตของเกษตรกรเมืองไทยจึงมีโอกาสส่งจำ หน่ายไปยังต่างประเทศมากขึ้นเช่น
กัน และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่มีผู้หันมาเลี้ยงกบกันมากขึ้น เพราะปริมาณกบที่อยู่ตามแหล่ง
ธรรมชาติมีจำ นวนลดนอ้ ยลงทุกที ๆ เนอื่ งจากแหลง่ ทอี่ ยอู่ าศยั ของมนั ถกู เปลยี่ นแปลงเปน็ ทอี่ ยู่
อาศัยของมนุษย์ รวมทั้งการสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม การใช้สารพิษกำ จัดศัตรูพืช การใช้ยา
กำ จัดวัชพืช กำ จัดปูนา ล้วนแล้วแต่มีส่วนทำ ลายพันธุ์กบในธรรมชาติให้หมดสิ้นไปแต่ละปี ๆ
ทั้งนี้รวมทั้งการจับกบมาจำ หน่ายหรือการประกอบอาหาร โดยไม่มีการละเว้นกบเล็กกบน้อย
เป็นการตัดหนทางการแพร่พันธุ์กบโดยสิ้นเชิงอีกด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้เลี้ยงกบหลายราย
ต้องประสบความล้มเหลวในการเพาะเลี้ยงกบอันเนื่องจากการไม่เข้าใจการเลี้ยง โดยเฉพาะไม่
เข้าใจในอุปนิสัยใจคอของกบซึ่งมีความสำ คัญเพื่อประกอบการเลี้ยงเช่น กบมีนิสัยดุร้ายและ
ชอบรังแกกัน การเลี้ยงกบคละกันโดยไม่คัดขนาดเท่า ๆ กันในบ่อเดียวกัน เป็นเหตุให้กบใหญ่
รังแกและกัดกินกบเล็กเป็นอาหาร หรือไม่รู้ว่านิสัยใจคอของกบเป็นสัตว์ที่ชอบอิสระเสรี เมื่อ
สภาพที่เลี้ยงมีลักษณะโปร่ง เช่น เปน็ อวนไนลอนทำ ใหก้ บสามารถมองเหน็ ทวิ ทศั นภ์ ายนอก
มันจะกระตือรือร้นที่จะดิ้นรนหาทางออกไปสู่โลกภายนอก โดยจะกระโดดชนอวนไนลอนจน
ปากบาดเจ็บและเป็นแผล เป็นเหตุให้ลดการกินอาหารหรือถ้าเจ็บมาก ๆ ถึงกับกินอาหารไม่
ได้เลยก็มี อย่างไรก็ตาม เอกสารคำ แนะนำ เรื่องการเลี้ยงกบนี้ จะแนะวิธีการเลี้ยงทั้งแบบกึ่ง
พัฒนาและการเลี้ยงแบบพัฒนา ทั้งนี้เพื่อผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงแต่ละแบบเพื่อนำ ไป
ใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทุนทรัพย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป
More detail ?

20 มกราคม 2554

การเลี้ยงปลากดเหลือง


ปลากดเหลือง

(Mytus nemurus, Cuv & Val) เป็นปลานํ้าจืดพื้นบ้านที่ไม่มีเกล็ดของไทย พบแพร่กระจายกว้างขวางในแหล่งนํ้าธรรมชาติ ตลอดจนอ่างเก็บนํ้าและเขื่อนต่าง ๆ รวมทั้งบริเวณปากแมน้ำเป็นน้ำกร่อย ปจัจบันปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำ จืดเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรสนใจทำการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพ โดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณพื้นที่ลุ่มนํ้าปากพนัง เกษตรกรจะนิยมเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังและในบ่อดินที่เคยเลี้ยงกุ้งกุลาดำ มาก่อน ปลากดเหลืองจัดว่าเป็นปลาชั้นดีในท้องตลาด จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและนอกประเทศ โดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ปลากดเหลืองจึงเป็นปลาอีกชนิดหนึ่ง ที่คาดว่าจะเป็นปลาที่มีความสำ คัญทางเศรษฐกิจมากในอนาคตและมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไป

ขั้นตอนการปลูกเห็ดนางฟ้า



         การเพาะเห็ดเศรษฐกิจชนิดต่างๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดขอนขาว เห็ดยานางิ(เห็ดโคนญี่ปุ่น) เป็นต้น และขยายผลสู่เกษตรกร ในพื้นที่ศูนย์ฯ โดยการนำเกษตรกรที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติและกลับไปเพาะเห็ดในพื้นที่ของตนเอง


More detail ?

การเพาะเห็ดฟาง

การเพาะเห็ด

เศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งพาตนเอง




“ เศรษฐกิจพอเพียง ” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส

ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย มาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิด

วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถ

ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆเศรษฐกิจพอเพียง ” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส

ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย มาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิด

วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถ

ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิด

วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถ

ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชน

ในทุกระดับตั้งแต่ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนิน

ไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้อง

มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก

และภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรู้ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการ

ต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐาน

จิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกใน

คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร

มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายบนอกได้เป็นอย่างดี

( ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ซึ่งพระราชทานในโอกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป

ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไข

พระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามที่ขอพระมหากรุณา

ตามหนังสือที่ รล. 0003/18888 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง

กทม.). 0003/18888 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง

กทม.).)

สมัยก่อน เกษตรกรจะทำการผลิตเพื่อการบริโภค โดยอาศัยธรรมชาติตาม

สภาพแวดล้อม มีการปลูกพืชหลากหลายชนิดคละกัน ทั้งพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร

พืชใช้สอย ในลักษณะของสวนผสม พืชเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ทางนิเวศวิทยา ซึ่งกันและกัน

มีความต้องการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม กับการเจริญเติบโตแตกต่างกันไป เกี่ยวกับแสงแดด อุณหภูมิ

ความชื้น ดิน เป็นต้น เช่นพืชทรงพุ่มขนาดเล็กต้องการแสงน้อย อยู่ใต้พืชที่ทรงพุ่มใหญ่ การทำลาย

ของโรคแมลงที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นการควบคุมพืชบางชนิดให้มีปริมาณเหมาะสมในระบบนิเวศของพืช

พืชที่ขึ้นปะปนหรือคละกัน มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการระบาดของโรคแมลงพืชชนิดอื่นได้ ทำให้สามารถ

ดำรงชีวิตอยู่ได้

More detail

ความรู้เรื่องผักหวานป่า





“ผักหวานป่า”...จากป่ามาสู่สวน..ให้อยู่รอดได้อย่างไร
    

     ประเทศไทยของเรานั้น เต็มไปด้วยความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ที่สามารถเลี้ยงชีวิตผู้คนทั่วทั้งผืนแผ่นดินได้อย่างอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะพืชผักพื้นบ้านต่างๆ ถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทั้งทางโภชนาการ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ที่สำคัญเมื่อรู้จักบริหารจัดการทรัพยากรเหล่านั้นแล้ว ย่อมเสริมสร้างรายได้ให้เราได้อีกด้วย
   
     พืชผักพื้นบ้านที่กล่าวถึงนั้น คือ “ผักหวานป่า” ไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าธรรมชาติ เป็นผักที่มีรสชาติดี นำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง อาทิ แกงส้ม อ่อม ลวกหรือรับประทานสดๆ กับน้ำพริก ก็สุดแล้วแต่ใครจะสรรหาวิธีรับประทาน ที่สำคัญจัดเป็นผักพื้นบ้านที่มีราคาค่อนสูง เพราะหายากมีเฉพาะฤดูกาลเท่านั้น ที่สำคัญว่ากันว่าปลูกยาก น้อยคนนักที่นำมาปลูกให้ประสบความสำเร็จ
    
More detail ?
Code by : paid web directory