ปลาดุกอุย
sharptooth catfish)
( Clarias macrocephalus ) เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิดไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 เส้น ที่ริมฝีปากผิวหนังมีสีนํ้าตาล เนื้อมีสีเหลือง รสชาติอร่อยนุ่มนวลสามารถนำ มาปรุงแต่งเป็น อาหารชนิดต่างๆ ได้มากมายในประเทศไทยมีพันธุ์ปลาดุกอยู่จำ นวน 5 ชนิด แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่วๆไป คือ ปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน (Clarias batrachus)ซึ่งในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายเมื่อไม่นานมานี้เองเกษตรกรได้นำ พันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยซึ่งอธิบดีกรมประมงได้มีคำ สั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าจืดดำ เนินการศึกษาพบว่าเป็นปลาในตระกูลแคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำ เนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า (Clarias gariepinus Africanเป็นปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทานซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่า ปลาดุกเทศ จากการศึกษาทางลักษณะรูปร่างและชีววิทยาของปลาดุกเทศทางกลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าจืดได้ทำ การเพาะขยายพันธุ์ปลาโดยนำ มาผสมพันธุ์กับปลาดุกอุยและปลาดุกเทศผลปรากฏว่า การผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ปลาดุกอุยเพศเมียผสมกับปลาดุกเทศเพศผู้สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ดีลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุยจึงทำ ให้เกษตรกรนำ วิธีการผสมข้ามพันธุ์ไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งลูกหลานที่เกิดจากคู่ผสมนี้ทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย
-เทศ แต่โดยทั่วๆไปชาวบ้านเรียกกันว่า บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ ส่วนการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศผู้กับปลาดุกเทศเพศเมียลูกที่ได้ไม่แข็งแรงและเหลือรอดน้อย เมื่อเทียบกับการเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาบิ๊กอุย ส่วนการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกด้านกับปลาดุกเทศ ไม่ประสบผลสำ เร็จเท่าที่ควรในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าปลาดุกลูกผสมอุย-เทศหรือบิ๊กอุยนั้นเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่ายมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเป็นที่นิยมบริโภคของประชาชนเนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูกMore detail ?
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น